
แนวทางการจดทะเบียนพันธุ์พืช กับ กรมวิชาการเกษตร
(ขอบพระคุณข้อมูลจากกลุ่มวิจัยการคุ้มครองพันธุ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร)
ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ เพื่อลดความสับสนและเข้าใจผิด หรือตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
1.สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย ไม่มีนโยบายในการส่งข้อมูลการจดทะเบียนชื่อและพันธุ์บอนสีให้กับกรมวิชาการเกษตร
2.สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย ไม่มีการโทรศัพท์ ติดต่อ หรือเป็นหน่วยงานกลางในการแจ้งจดชื่อบอนสีให้กับกรมวิชาการเกษตร
3.กรมวิชาการเกษตร มีหลักเกณฑ์ ข้อปฏิบัติ และ พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช โดยมิต้องผ่านองค์กรใด
เนื่องจากมีสมาชิกและผู้สนใจจดทะเบียนพันธุ์พืช ซึ่งนอกเหนือจากการจดทะเบียนชื่อบอนสีกับสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทยแล้ว หลายท่านที่อาจมีความต้องการจดทะเบียนพันธุ์พืชหรือคุ้มครองพันธุ์พืชกับกรมวิชาการเกษตร เรามีคำตอบจากนักวิชาการเกษตร กลุ่มวิจัยการคุ้มครองพันธุ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร มาให้ทุกท่านศึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติครับ
การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชกับกรมวิชาการเกษตร จะมี 2 แนวทาง เท่านั้น ดังนี้
- พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518
ซึ่งจะเป็นการยื่นเอกสาร และใช้เวลา 105 วัน หรือประมาณ 3 เดือน เพื่อขึ้นทะเบียน โดยมีอัตราค่าธรรมเนียม 100 บาท เพื่อประกาศในช่องทางออนไลน์ เป็นระยะเวลา 30 วัน ซึ่งมิได้มีผลทางกฏหมาย และเปิดให้มีผู้ทักท้วงและสาธารณะได้แสดงความคิดเห็น ในกรณีมีความขัดแย้ง ผู้แจ้งและผู้ยื่นเอกสารจะต้องทำการตกลงกันเพื่อหาข้อสรุปต่อไป โดยหากกระบวนการผ่านไปได้จะมีการประกาศโฆษณา 30 วัน - การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542
มีค่ายื่นคำขอ 100 บาท
ค่าตรวจสอบภาคสนามตามระยะทางและครั้งที่เจ้าหน้าที่ลงสำรวจตามระยะทาง
ค่าธรรมเนียม 500 บาท
ค่าประกาศโฆษณา 500 บาท
และค่าธรรมเนียมรายปี ปีละ 1,000 บาท
รวมค่าใช่จ่ายเบื้องต้น ไม่ต่ำกว่า 2,100 บาท
โดยทุกกรณีที่ยื่นจะต้องได้รับการตรวจสอบภาคสนามจากเจ้าหน้าที่ และมีการประกาศสู่สาธารณะเป็นจำนวน 90 วัน หลังจากมีการสำรวจ และอาจมีการสำรวจแปลงปลูกซ้ำตามความสมควรและยึดความเสถียรของสายพันธุ์ เมื่อมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ และนักวิจัยพันธุ์พืชแล้ว จะขึ้นประกาศเพื่อให้มีข้อทักท้วงจากสาธารณะได้ ในกรณีมีข้อพิพาท จะต้องดำเนินการตกลงกัน และอาจต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามความเหมาะสม โดยเฉพาะการเพาะพืชจากเมล็ดจะต้องมีการระบุชื่อพ่อและแม่พันธุ์โดยละเอียด และอัตลักษณ์อันพึงมีตามระบบ ทั้งนี้เมื่อผ่านกระบวนการจะประกาศทั่วทุกอำเภอและทั่วประเทศ แต่ผู้มีข้อขัดแย้ง โต้เถียง สามารถแจ้งและดำเนินการทบทวนได้ตามความจริง และต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมรายปี ตลอดจนเปิดโอกาสให้สังคมทักท้วงได้ แม้ว่าจะประกาศชื่อแล้วก็ตาม
สำหรับบอนสีพันธุ์พรประเสริฐมีประวัติในการขึ้นทะเบียน พรบ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 ตามเอกสารแนบ https://www.doa.go.th/pvp/wp-content/uploads/2020/09/AnnoDOA_Public230.pdf
และหากสมาชิกและท่านผู้สนใจในการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช
สามารถสอบถามข้อมูลและได้รับคำแนะนำได้โดยตรง
ที่ คุณอรรถพร สิทธิ์วิภูศิริ นักวิชาการเกษตร กลุ่มงานวิจัยการคุ้มครองพันธุ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
โทรศัพท์ หรือ Line : 091 718 4750
หรือสามารถเข้าไปอ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ที่
https://www.doa.go.th
สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร